ระดับปริญญาโท

หลักสูตรที่เปิดสอน ระดับปริญญาโท

 

ปรัชญาหลักสูตร

 

 

" มุ่งเน้นการจัดการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning ; RBL) เพื่อให้บัณฑิตเป็นนักวิชาการ
 หรือผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการงานทำวิจัยการศึกษาค้นคว้า
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่มีความสามารถในการจัดการองค์ความรู้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
และนำเทคโนโลยีที่ได้ไปปรับใช้และต่อยอดการพัฒนาและ/หรือ แก้ไขปัญหาให้กับภาคการเกษตร
ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจการเกษตรและการประกอบการ
 ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มเน้นเกษตรคุณภาพสูงและขับเคลื่อน
การประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล "
 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564

ชื่อหลักสูตร

               ภาษาไทย                         :         หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 

                                                                 สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

                                                                 หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564

               ภาษาอังกฤษ                  :         Master of Science in Agriculture Technology and Innovation

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

               ภาษาไทย                         :         ชื่อเต็ม  :  วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร)

                                                                  ชื่อย่อ   :  วท.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร)

               ภาษาอังกฤษ                  :         ชื่อเต็ม  :  Master of Science (Agricultural Technology and Innovation)

                                                                  ชื่อย่อ   :  M.Sc. (Agricultural Technology and Innovation)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

              - จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

 

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs)

 

          เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร  หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564 จะต้องมีคุณลักษณะ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) ดังนี้

          1. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ รับผิดชอบในการทำงาน ตระหนักถึงผลกระทบของการเกษตรต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดำรงตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมพหุวัฒนธรรม

          2. รู้และเข้าใจในหลักการ และทฤษฎีสำคัญ เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

          3. วิจัยและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ เพื่อการแก้ปัญหาทางการเกษตร

                    3.1 นักวิชาการที่สามารถวิจัยและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาทางเกษตร

                    3.2 ผู้ประกอบการที่สามารถวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการประกอบการเกษตร

          4. ประยุกต์ความรู้จากการวิจัย และบูรณาการ ความรู้ ความเข้าใจ สู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

                    4.1 นักวิชาการที่สามารถประยุกต์ความรู้จากการวิจัย และบูรณาการ ความรู้ ความเข้าใจ สู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อใช้ในการพัฒนาภาคการเกษตร

                    4.2 ผู้ประกอบการที่สามารถประยุกต์ความรู้จากการวิจัย และบูรณาการ ความรู้ ความเข้าใจ สู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อใช้ในการประกอบการทางการเกษตร

          5. มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

 

รายละเอียดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564

 

รายละเอียดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

กลุ่มวิชาการ

     1. อาจารย์

     2. นักวิจัย

     3. นักวิชาการเกษตร

     4. นักวิชาการสัตวบาล

     5. นักส่งเสริมการเกษตร

กลุ่มวิชาการผู้ประกอบการ

     1. ผู้ประกอบการในธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

     2. นักบริหารในธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

     3. เกษตรอัจริยะ หรือประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร

 

 

Close